วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คาบที่ 10 (อ.ปีเตอร์) 31/01/11 Enterprise System, SCM, ERP


Enterprise Systems
           Enterprise Systems เป็น ระบบกลางที่ทำขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ในองค์กรแต่ละแผนกได้แบ่งปันข้อมูล เพื่อสร้างมาตรฐานแบบเดียวกันและทำให้การทำงานสะดวก พร้อมทั้งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม แต่ละแผนกก็มีความแตกต่างกันไปในเรื่องของขั้นตอนและกระบวนการทำงานต่างๆ
             ทั้งนี้ ระบบ Enterprise Systems มีประโยชน์ในด้าน ความสามารถในการรวมทุกกิจกรรมที่สำคัญของธุรกิจ (Key Process) ช่วยให้การทำงานระหว่างระบบต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับช่วยให้การ outsource ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีระบบข้อมูลที่ดี ทำให้การติดต่อระหว่าง supplier ในประเทศต่างๆ รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น
            แต่เนื่องจากระบบ Enterprise Systems มีราคาแพง ประกอบกับ บางองค์กรยังมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะใช้ระบบ รวมทั้ง ผู้ทำงานไม่อยากเรียนรู้วิธีการทำงานของระบบใหม่
จึงเป็นอุปสรรคในการนำมาใช้

Supply Chain Management
-          Warehouse Management System (WMS) ระบบที่ใช้เพื่อบริหารสินค้าในคลัง เช่น จำนวน การวางสินค้าให้ประหยัดพื้นที่มากที่สุด การเข้าออกของสินค้า
-          Inventory Management System (IMS)  เป็น Software ที่ใช้ในการจัดการสินค้าคงคลัง เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดเก็บข้อมูลของสินค้าที่มีทั้งหมด
-          Fleet Management system ระบบการบริหารการส่งของ สำหรับเช็คว่ามีการส่งของในแต่ละที่เท่าไหร่ อาจมีการใช้ระบบ RFID ร่วมด้วย ในการตรวจสอบการส่งของ
-          Vehicle Routing and Planning เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนเส้นทางในการขนส่งสินค้า เพื่อให้มีเส้นทางที่สั้นที่สุด และประหยัดมากที่สุด
 -          Vehicle Based System บริหารจัดการรถบรรทุกในการตรวจสอบสถานะ สถานที่การเดินทางที่อยู่ปัจจุบัน เช่น ระบบ GPS 

Major ERP Modules
-          Sales and Distribution (Records customer orders, shipping, billing, connections, based on SAP)
-          Material Management
-          Financial Accounting
-          Human Resources (Recruiting, payroll)
-          Third-Party (CRM, Customer Self-Service, Sales Force Automation
แนวโน้ม IT สำหรับ Supply Chain Management ในอนาคต
               Speech Recognition : การสั่งงานด้วยเสียง โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องมัวแต่เพ่งมองที่จอคอมพิวเตอร์อีกต่อไป
Advanced Wireless : Voice & GPS : การใช้เสียง และ GPS โดยนำมาใช้ในการควบคุม Supply chain ได้
Digital Imaging : การ ประมวลผลภาพดิจิตอล เมื่อถ่ายภาพเสร็จก็ส่งเข้าอินทราเน็ต ซึ่งบริษัทสามารถเก็บเป็นฐานข้อมูลและสามารถปริ้นให้ลูกค้าได้ทันที
Portable Printing : การพิมพ์แบบเคลื่อนที่
2D & other barcoding advances : ความก้าวหน้าของระบบบาร์โค้ด 2 มิติ และระบบบาร์โค้ดอื่นๆ
Connectivity : การบริหารงานมีการเชื่อมต่อกันทาง wireless , Bluetooth , GPRS
RFID : ชิพตัวเล็กๆซึ่งฝังอยู่ในบัตร/แถบสินค้า เช่น บัตรในรถไฟฟ้าใต้ดิน แค่วิ่งผ่านตัวอ่าน ไม่ต้องสแกนทุกๆตัว
Real Time Location System (RTLS) :  ระบบที่สามารถจะแสดงตำแหน่งในเวลาจริงได้ บอกว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในโกดังสินค้า หรือในออฟฟิศ สามารถนำไปติดกับของที่เป็นทรัพย์สินได้
Remote Management : การจัดการทางไกล เป็นระบบที่คอยควบคุมจากระยะไกลได้ อยู่อีกที่หนึ่งก็สามารถควบคุมอีกที่หนึ่งได้
Speech Recognition : การ สั่งงานด้วยเสียง สามารถช่วยระบบการผลิตได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องมัวแต่เพ่งมองที่จอคอมพิวเตอร์อีกต่อไป และยังสามารถนำมาใช้กับคนพิการได้
Security : ความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายไร้สายมีความสำคัญมาก ข้อมูลอยู่ในอากาศ เราไม่ทราบว่าใครจะมาแอบขโมยข้อมูลหรือไม่  นอกจากนี้ยังอาจเกิดอาชญากรรมโดยการขโมยแลปท็อปซึ่งจะทำให้ข้อมูลในนั้นหายไปด้วย

Presentation
1. Augmented Reality
Augmented Reality พัฒนารูปแบบ Human-Machine Interface ที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบเสมือนจริง (Virtual Reality) โดยที่วัตถุเสมือนนั้นๆ จะถูกสร้างมาผสมกับสภาพในโลกจริงในรูป 3D และแสดงผล แบบ real time โดยสามารถใช้งานผ่านทางอุปกรณ์ Webcam, กล้องมือถือ ,Computer รวมกับการใช้ software ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ภาพที่เห็นในจอภาพจะเป็น object 3 มิติ ซึ่งมีมุมมองถึง 360 องศากันเลยทีเดียว ฉะนั้นเทคโนโลยี AR นี้ จะสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นภาพเสมือนจริงได้รอบด้าน 360 องศา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเดินไปสถานที่จริงเลยแม้แต่น้อย

2. Mobile Operating System
ระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็น ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป มีหน้าที่หลัก ๆ คือ จัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน

3. Video Telepresence
Video Telesence เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากระบบ Video Conference ถูกพัฒนาขึ้นในปีค.ศ.1960 และเริ่มใช้งานจริงใน ปีค.ศ.1980 ซึ่งโดยหลักการแล้ว Video Telesence ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานเดียวกับ Video Conference แต่มีความต่างขององค์ประกอบของระบบที่ชัดเจน 3 ด้าน คือ “Network Technologies, Conference Hardware และ Conference Software” ซึ่ง เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ากว่าทำให้ Video Telesence ให้ภาพที่สมจริงกว่า อรรถประโยชน์ที่สูงกว่า และการติดตั้งต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมการใช้งานที่เหนือกว่า Video Conference

4. Service-oriented Architecture
SOA (Service-Oriented Architecture) หมายถึง แนวคิดการออกแบบและวางโครงสร้างของซอฟต์แวร์ขององค์กรขนาดใหญ่ในลักษณะที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถหยิบเอาเฉพาะเซอร์วิส (Service) ที่ ต้องการซึ่งเป็นองค์ประกอบของซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ มารวมกันเป็นแอพพลิเคชันใหม่ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่างได้อย่าง ยืดหยุ่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตามหลักการของการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusability) ทั้งนี้ หลายคนมองว่า SOA คือ web service แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เพราะ web serviceเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน ดังนั้น SOA จึงไม่ใช่สินค้า หาซื้อไม่ได้ แต่มันคือแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น